วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา


        ความหมายที่แท้จริงของแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้
บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับ
ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้ค านิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ต
พีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคำว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ 


       แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC : Tablet Personal Computer ) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่
สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการท างาน ออกแบบให้สามารถท างานได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ภายหลังจากทาง Microsoft ได้ท าการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก

       แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่า “แท็บเล็ต” คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการท างานเป็นลำดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมไปถึงโน๊ตบุ๊คแบบ Convertible  ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดเสมือนจริงติดมาด้วย

        เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงท าให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้ก าหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน

2.สมาคมอาเซียน

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคมในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน





ไทยกับอาเซียน

          ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยโดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

    -   ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร

   -    ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน และโซดาแอช ตัวถังรถยนต์

    -   ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน

   -   ด้านการเกษตร การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการปลูกป่า

    -   ด้านการเมือง สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ

    -   ด้านวัฒนธรรม มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อกัน

        ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
  • มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา
  • การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535
  • ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก หรือ ARF- ASEAN Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537
  • ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540

ประเทศเพื่อนบ้าน

          ใน 9 ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนยกเว้นประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมการเปิดอาเซียนกันมากรัฐบาลมีการสนับสนุนการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและที่ได้เปรียบกว่าคนไทยนั่นก็คือภาษาอังกฤษจากผลสำรวจประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถาทงด้านภาษาอังกฤษน้อยที่สุดการเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน            1. ปรับกรอบแนวคิดของตัวเองให้เปิดกว้าง ศึกษาให้เข้าใจถึงผลกระทบทุกด้าน เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อการวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่คืบคลานเข้ามา            2. ศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียนให้ดีว่า มันคืออะไร หน้าตาของประชาคมอาเซียนเป็นอย่างไร            3. ฝึกฝนเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะ ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน และควรเพิ่มการฝึกฝนภาษาที่ 4 ด้วย               4. ศึกษาและทำความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับกฎและระเบียบต่างๆของ                      5. พัฒนาทักษะของเราให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ และเป็นที่ต้องการของตลาด



ที่มา  : http://www.enn.co.th/2308
                                                               http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/07.html

3. บทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

 "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดง ออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"


คุณลักษณะของครูที่ดี-  ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว-  ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์-  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม-   ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
-  ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
-  ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด -  ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
-  ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
-  ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ -  ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า


              การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนอกจากจะเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วถ้าไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์หรือเพื่อนจนเข้าใจและทำได้  ก็ยังมีการมาค้นคว้าหาจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบบ้างในการทำบล็อกและเมื่ออาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและทำตามทุกครั้งการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนั้นถ้าคนมีความสนใจและใส่ใจก็จะทำออกมาได้ดี

            ต่อไปโอกาสหน้าถ้าจะเรียนโดยการใช้บล็อก  ก็เป็นเรื่องที่ดีและหน้าสนใจเพราะไม่ต้องเรียนจากตำราและใช้กระดาษแต่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนซึ่งสอดคล้องกับการจะก้าวสู่อาเซียนต่อไปข้างหน้า

4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด

       - ดิฉันคิดว่าดิฉันมีความพยามยามในการเรียนในรายวิชานี้มาก เพราะว่ารายวิชานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ และเมื่อถึงเวลาที่ดิฉันเป็นครูสอนนักเรียนก็สามารถนำวิการสอนแบบนี้ไปใช้ในการสอนเช่นเดียวกัน

4.2ขาดเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียนเลย

         -  ในการเข้าเรียนนั้นดิฉันขอยอมรับว่าดิฉันมีขาดเรียนบ้างในบ้างแต่ไม่เกิน2ครั้ง  เพราะว่าดิฉันไม่สบาย จึงมีความจำต้องขาดเรียน 

   4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน         


         -  อาจจะทำไม่ตรงตามเวลาบ้างแต่ก็เสร็จทุกกิจกรรมทัน

 4.4ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น

          -  ดิฉันทำเองค่ะโดยการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

  4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก

       -  ในสิ่งที่ดิฉันตอบมาทุการนั้นล้วนแต่เป็นความสัตร์จริง ดิฉันทำบล็อดด้วยความตั้งใจเรียนจริงเพราะการทำบล็อกนั้น เป็นการเรียนรู้แบบใหม่จึงทำให้ดิฉันเกิดความสนใจเป็นพิเศษ 


 ดิฉันจึง  อยากได้เกรด   เพราะตั้งใจทำงานส่งอาจารย์ทุกครั้งที่ทำและก็ทำอย่างเต็มที่







 ขอบคุณค่ะ อาจารย์อภิชาติ  วัชรพันธุ์


                  

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดห้องเรียน

        การจัดห้องเรียนและการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมหลาย ๆ ประเภท เป็นสิ่งเร้าสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อยากเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียน ครูนับเป็นคนที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เด็กแต่ละคนพบความสามารถของตนเองผ่านทางกิจกรรมและปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้น่าเรียนได้ การจัดห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือการจัดที่นั่งให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ย่อมทำให้ผู้เรียนมีความสุขและสะดวกสบาย หากการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจทำให้ครูผู้สอนควบคุมการสอนยาก เพราะตรวจสอบนักเรียนได้ไม่ทั่วถึง หรือแม้กระทั่งการใช้สื่อการเรียนการสอนในชั้น ถ้าหากนักเรียนนั่งอยู่ในจุดที่ไม่สามารถมองเห็นก็ทำให้เป็นอุปสรรคได้
การจัดและตกแต่งห้องเรียน ควรยึดหลัก 2 ประการ คือ
    1. การเร้าความสนใจในการเรียน
    2. ความมีระเบียบ
 ทั้งนี้การจัดและปรับปรุงห้องเรียนในระดับประถมศึกษา ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครูและนักเรียน โดยยึดหลักดังนี้ คือ
    1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ
    2. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน
    3. ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    4. ยึดถือความแตกต่างระหว่างบุคคล
    5. ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
การจัดห้องเรียนเพื่อให้มีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
    1. เด็กสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไม่นาน
    2. ระดับความเจริญเติบโตของเด็กแตกต่างกัน
    3. แต่ละวิชามีความมุ่งหมายในการเรียนการสอนแตกต่างกัน (บัญชา บรมพิชัยชาติกุล, 2522)
ฝ่ายวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2532) ให้หลักเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพว่า ควรมีลักษณะ ดังนี้ 
    1. การจัดสภาพห้องเรียนต้องคำนึงถึงลักษระการเรียนการสอน และวิธีการสอน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ นอกจากนี้การจัดห้องเรียนต้องคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในบางครั้งการจัดห้องเรียนควรจะได้คำนึงถึงความสะดวกและความยืดหยุ่นของการใช้งานด้วย
    2. โต๊ะ เก้าอี้ ควรเป็นแบบที่เบาไม่เทอะทะ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือปรับปรุง ลักษณะภายในห้องเรียน และการจัดวางจะต้องอยู่ใน
ลักษณะที่เหมาะสม ไม่สร้างปัญหาในระหว่างการเรียนการสอน เช่น การบังกัน เป็นต้น
    3. เสียง จะต้องให้เกิดการได้ยินอย่างทั่วถึงและถ้าใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องคำนึงถึงเสียงสะท้อนด้วย
    4. ไฟฟ้าและสว่าง แสงสว่างภายในห้องเรียน จะได้จากแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟจะต้องมีความสว่างพอเหมาะ ควรจะได้มีการติดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่เหมาะกับการใช้งาน ตลอดจนการติดตั้งปลั๊กไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและความปลอดภัย
    5. การระบายอากาศในห้องเรียน จำเป็นต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
    6. การใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา จะต้องจัดวางในที่เหมาะสมโดยคำนึงการกำหนดลักษณะการใช้งานและประสิทธิภาพของการใช้งาน 

           จึงอาจกล่าวได้ว่า สภาพห้องเรียนที่ดีที่จะสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้นั้น ควรจะต้องมีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านแสงสว่าง การระบายอากาศ ความสะอาด ความปลอดภัย ตลอดจนความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน การจัดสภาพห้องเรียนที่ดีไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งถาวร แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ลักษณะของบทเรียน หรือกิจกรรมที่ครูนำมาใช้ประกอบบทเรียน







กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพในอุดมคติ


ครูในอุคมคติของข้าพเจ้า

1.มีคุณธรรมและจริยธรรม
2.ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
3.ตรงต่อเวลา
4.วางใจเป็นกลาง
5.รักเด็ก
6.มีบุคลิกภาพดี
7.แต่งกายสุภาพ
8.พูดจาอ่อนหวาน
9.มีระเบียบวินัย
10.เสียสละ

การพัฒนาตนเองสู่วิชาชีพครู

1.พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.ประพฤติตามแนวทางของครูที่ดี






กิจกรรมที่ 7



โทรทัศน์ครู



อาจารญ์ผู้สอน : คุณแววนภา กาญจนาวดี

โรงเรียน :   พญาไท

เรื่องที่สอน :เศรษฐศาสตร์สู่เศรษฐกิจพอเพียง

ระดับชั้นที่สอน :ประถมศึกษาชั้นปีที่ 6

เนื้อหาที่ท่านใช้สอน  
             เน้นการสอนจากเรื่องราวรอบตัวนักเรียน เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์ นำเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันของคนในสังคมเมืองมาประกอบการเรียน เพื่อจะเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดไม่ถูกชักจูงให้เชื่อในการโฆษณาง่ายๆ เช่น ครู จะนำผลไม้มาให้เด็กๆเลือกซื้ออย่างอิสระ แล้วให้วิเคราะห์ว่าทำไมถึงเลือกซื้อผลไม้ชนิดนั้นมีหลักในการเลือกอย่างไร และสรุปด้วยการสอนให้เลือกโดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้


จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)

การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา เด็กนักเรียนเลือกแหล่งเรียนรู้ผ่านการอธิบายเหตุผลและการลงคะแนน ต่อจากนั้นครูแนะสถานที่ไป ความสำคัญ จุดสำคัญทีควรศึกษา เช่น ภาพเขียน 3000 ปี จากนั้น ครูให้เด็กศึกษา หาข้อมูลเพิ่ม ก่อนไปทัศนศึกษา เมื่อศึกษาจบให้นำเสนอผลงานที่ไปดูงานมา และนำข้อมูลที่ได้ สรุปนำเสนอ และเผยแพร่ความรู้ให้น้องๆ ผ่านการจัดนิทรรศการ
การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์ การสอนแบบโครงงานให้นักเรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด จึงได้พานักเรียนไปทัศนศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น และภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น  

บรรยากาศในชั้นเรียน

บรรยากาศการจัดห้องเรียน   เป็นห้องเรียนที่มีแสงสว่างเพียงพอ  การจัดโต๊ะของนักเรียนมีช่องว่างให้ครูเดินได้สะดวก   และหากมีการทำงานกลุ่มก็สามารถเข้ากลุ่มได้อย่างรวดเร็ว  สำหรับบรรยากาศการเรียนก็เป็นกันเอง  ทำให้เด็กกล้าพูด  กล้าตอบคำถาม กล้าแสดงความคิดเห็น  การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้รวดเร็ว










     

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
         
          ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ท่านทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ครูของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรักต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด ซึ่งท่านได้ทรงเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาของปวงประชากรไทย ไม่ว่าประชากรไทยจะอยู่ถิ่นไหน ท่านก็จะเสด็จไปถึงถิ่นนั้น เพื่อที่จะแนะนำ ส่งเสริมในทุกๆเรื่องที่ปวงประชากรไทยนั้นพบกับปัญหา โดยท่านจะมุ่งแน้นทางด้านการศึกษาเป็นแกนนำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่มีวิชาความรู้มากมาย และมีความเป็นผู้นำสูงจึงทำให้พระองค์เป็นที่รักของปวงชน จนพระองค์ได้ขนานนามว่า "ครูของแผ่นดิน"  เพราะพระองค์ทรงสอนเรื่องแผ่นดิน ที่สอนให้รู้จักและเข้าใจ ดิน น้ำ ลม ไฟ  สอนให้รู้จักชีวิต สอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการกระทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากแก่ปวงชนชาวไทย
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชกระแสรับสั่งของพระองค์เกี่ยกับครู ความว่า "ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ" ดังนั้นครูถือเป็นอาชีพที่เป็นที่เคารพนับถือ มีความสำคัญในการทำงานในการสร้างแม่พิมพ์ที่ดีให้เกิดขึ้นมาสร้างประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ผู้คนมีความสุขกับการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เพราะทุกคนมีครูที่ดี ที่ให้ความรู้ ความสุขและความอบอุ่น จนทำให้สังคมและปวงชนอยู่อย่างมีความสุข



      ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร


     จะใช้วิธีการสอนโดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้โดยสอนให้นักเรียนได้รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอมีพอกิน รู้จักประหยัดอดออม นอกจากนั้นจะสอนให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์วิถีชีวิตของแต่ละชุมชนของนักเรียนเอง  ให้นักเรียนได้รู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดความรู้และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างเต็มความสามารถ ให้คะแนนแก่นักเรียนด้วยความยุติธรรมและเป็นครูที่มีแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนทุกคน



    ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร         

           ในฐานะที่ดิฉันจะไปเป็นครูในอนาคต ดิฉันจะสอนนักศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อที่นักเรียนจะได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้  และจะออกแบบการสอนโดยให้นักเรียนได้ออกไปสัมผัสกับสถานการณ์จริง ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ฝึกลงมือทำด้วยตนเองจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถก้าวทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆได้
 

  


วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY    1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

       สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

 2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไ

      ถ้าดิฉันได้ออกไปเป็นครู ดิฉันจะนำแนวคิดนี้ไปสอนนักเรียนโดยการสอนให้นักเรียนรู้จักทำงานเป็นทีม รู้จักช่วยเหลือกันภายในกลุ่มและสอนให้นักเรียนรู้จักมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง และจะสอนให้นักเรียนระลึกอยู่เสมอว่าคนเราไม่สามาราถอยู่ได้คนเดียวตามลำพัง เราต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมและเราก็จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันเราจึงจะอยู่รอดได้




     3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร

            ในอนาคตดิฉันจะเป็นครูผู้สอน และจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจโดยการจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และที่สำคัญครูผู้สอนควรสรุปกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน







วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6



                         สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย




กิจกรรมที่ 5

ครูในดวงใจ 

ประวัติ นางกรรณิการ์ คล้ายคลึง

 ข้อมูลส่วนตัว

1. ชื่อ นางกรรณิการ์ นามสกุล คล้ายคลึง 
2. เกิดวันที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ. 2503 อายุ 49 ปี 
3. วุฒิการศึกษาสูงสุด ครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) สถาบันการศึกษา วิทยาลัยครูสุรินทร์ 4. รับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2526
ตำแหน่งปัจจุบัน ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
5. สถานศึกษาที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
6. ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุด (โปรดระบุให้ชัดเจนพร้อมรหัสไปรษณีย์และหมายเลขโทรศัพท์ที่ ติดต่อได้) บ้านเลขที่ 217 หมู่ที่ 5 บ้านจะแกโกน ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000 โทร (บ้าน)0-4455-8279 (มือถือ)
087-8699859
ตอนที่ 2 เหตุผลที่เสนอให้ได้รับการสรรหาและคัดเลือกในโครงการ ครูดีในดวงใจ
1. เป็นผู้ที่ประพฤติตนและปฎิบัติตัวในชีวิตประจำวันให้เป็นแบบอย่างแก่นักเรียนและชุมชนมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสังเกตได้จากการมาปฏิบัติราชการแต่เช้าทุกวันได้มารับนักเรียนในตอนเช้า เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน เป็นที่พอใจแก่ผู้ปกครองมากได้พานักเรียนทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนก่อนขึ้นเรียนทุกวันและไม่เคยขาดราชการ
2. เป็นผู้ที่มีความตั้งใจอบรมสั่งสอนศิษย์ สังเกตได้จาก การจัดทำวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ มีการทำใบงานให้นักเรียนได้ฝึกเป็นปัจจุบัน
3. สอนนักเรียนให้ปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเฉพาะสาระงานอาชีพและเทคโนโลยีพานักเรียนทำขนม ทำการเกษตร ปลูกผัก เพาะเห็ด
4. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนติดตามนักเรียนมาเรียน ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนในความดูแลทุกคน ช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา จนได้รับคำชมเชยจากผู้ปกครอง 
5. มีความสามารถจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อใช้สอนนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจนได้รับการอนุมัติให้เป็นครูชำนาญการพิเศษ
                เหตุผลที่แสดงถึง มีความมุ่งมั่นการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อทางราชการโดยรวมและได้เข้าร่วมกิจกรรมอันส่งผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ดังนี้ 
1. การประพฤติตนและการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันให้เป็นแบบอย่างของชุมชนและนักเรียน ผสมผสานไปกับการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม รู้จักใช้จ่ายและดำรงตนตามอัตภาพ ไม่ฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อารมณ์ร่าเริงแจ่มใส รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
2. กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน โดยครูได้ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ฐานะทางครอบครัวและความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนำมาวิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์ชุมชนเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมและผลการเรียนของนักเรียนประกอบการจัดการเรียนการสอน 
3. จัดทำวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนตามศักยภาพและความถนัดของนักเรียน 
4. ช่วยเหลือนักเรียนที่ด้อยโอกาสและเด็กที่ทีปัญหาทางการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมสอนพิเศษให้ สร้างสื่อการเรียนสำหรับเด็กประเภทนี้โดยเฉพาะ สร้างสื่อการเรียนที่หลากหลายเช่น แบบฝึกการอ่านประกอบรูปภาพ แบบฝึกทักษะการบวกลบเลข ทำหนังสืออ่านประกอบ จัดทำหนังสือเล่มเล็ก เพื่อให้นักเรียนได้อ่านในยามว่าง 
5. ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกกิจกรรม เช่น กิจกรรมเข้าค่ายธรรมะ กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมวันรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา 
6. ได้จัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนตอนเย็นทุกวันจันทร์ อังคาร พฤหัสบดี 
7. ได้จัดกิจกรรมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน พานักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ เพาะเห็ดนางฟ้า ได้เขียนโครงการขอทุนสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวนเงิน 40,000 บาท 
8. รณรงค์ให้นักเรียนรู้จักกำจัดขยะและนำขยะมาประดิษฐ์เป็นของใช้ สอนให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการช่วยลดภาวะโลกร้อน 
9. รณรงค์ให้นักเรียนรู้จักประหยัด รู้จักออมเงิน ได้จัดกิจกรรมออมทรัพย์ขึ้นในโรงเรียน 
10. ได้บริจาคทรัพย์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้กับห้องประชุมโรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง
ตัวอย่างผลงานดีเด่น 

     1. ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับอนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ จุดเด่นของงานนี้ คือ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนของตนเอง วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น 
     2. กิจกรรมออมทรัพย์ของนักเรียนได้รับรางวัลจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และครูได้รับเกียรติบัตรในฐานะครูผู้ส่งเสริมและรณรงค์ให้นักเรียนรู้จักออมเงิน 
     3. ฝึกสอนนักเรียนทำอาหารแปรรูปได้รับรางวัลเหรียญทองระดับพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1
     4. เขียนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ได้รับอนุมัติจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลให้เงินมา 40,000 บาทเพื่อจัดกิจกรรม 

    5. ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้สอนดีเด่นในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
   6. ได้รับรางวัลครูผู้ผลิตสื่อการเรียนการสอนดีเด่นของคุรุสภาอำเภอกาบเชิง 
   7. ได้รับยกย่องเป็นบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
   8. ได้รับยกย่องเป็นแม่ดีเด่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข 
   9. ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ในงานสร้างสรรค์การเรียนรู้ จากคุรุสภาอำเภอกาบเชิง
   10. ได้รับยกย่องเป็นคณะกรรมการดำเนินงานและจัดกิจกรรมโรงเรียนและชุมชนจากสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง           11. เป็นที่ไว้วางใจของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการเรียนการสอน

ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงานและข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาการศึกษา
       1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้ดีขึ้น นักเรียนมีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน สร้างแรงจูงใจให้กำลังใจส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนทำความดี อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงทำให้ครูเกิดแรงกระตุ้นจัดทำสื่อการเรียนชุดการสอนเรื่องท้องถิ่นของเราขึ้นมา

      2. เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนให้รู้จักการออมทรัพย์ การประหยัดและรู้จักคิดประดิษฐ์สิ่งของเหลือใช้เป็นของที่ใช้ประโยชน์ได้ ช่วยลดภาวะโลกร้อน อยู่อย่างพอเพียง รู้จักฝันตั้งใจทำให้ได้เหมือนที่ฝัน รู้จักคิดในเรื่องต่าง ๆ ให้แตกแขนงออกไป คิดในสิ่งที่ดี ทำในสิ่งที่ดี
     3. เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่มีประโยชน์ปลอดสารพิษและสะอาดและมีทักษะในการทำงานใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแท้จริง
    4. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้นักเรียนมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยนักเรียนทุกคนต้องมาเข้าแถวเคารพธงชาติ เชิญธงขึ้นทุกเช้า และเข้าแถวเคารพธงชาติเชิญธงลงก่อนเลิกเรียนทุกวัน










กิจกรรมที่4



1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร

          ในแง่ของการทำงานเป็นทีม คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมี ประสิทธิภาพ แล้วก็การปฏิบัติงานต่างก็ได้รับความพอใจในผลงานนั้น ๆ ประโยชน์มีมากมาย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่นการ แข่งขันกีฬาไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล วอลเลย์บอล หรือตะกร้อที่จะต้องทำงานประสานกันเป็นทีม ถ้าไม่มีการวางแผนหรือมีการที่จะทำ ให้การประสานการเป็นทีม ชัยชนะก็จะไม่เกิดยกตัวอย่างอย่างเล่นฟุตบอลง่าย ๆ ฉะนั้นประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมสมาชิกใน ทีมจะต้องได้มีการพัฒนาเต็มความสามารถของตน ได้รับเปลี่ยนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์กับเพื่อนร่วมทีมทำให้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังความคิดเห็นและการสื่อสารกัน นั่นคือความสำคัญ

 

 2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร  ยกตัวอย่างประกอบ 

การทำงานเป็นทีมให้ประสบผลสำเร็จนั้น ประกอบด้วย

  1. จุดมุ่งหมาย ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เหมาะสมและเกี่ยวข้องกับความต้องการของสมาชิกโดยส่วนใหญ่ของทีม            2. ผู้นำหรือหัวหน้าทีมเน้นเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างและสนับสนุนให้ทำงานเป็นทีมของสมาชิกทุกคนประสบผลสำเร็จ จะต้องมีการวางแผนและการตัดสินใจที่ดี และเป็นการตัดสินใจที่เกิดจากข้อสรุปของสมาชิกในทีมไม่ใช่เป็นการเผด็จการความคิด ของผู้นำเพียงคนเดียว            3. สมาชิกในทีมจะต้องเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในการทำงานเป็นทีม ต่อไปเมื่อสมาชิกเข้าใจบทบาทจะต้องมีการสื่อสารเป็น การสื่อสารแบบปิด ระดับบนสู่ระดับล่าง หรือระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน หรือในระดับเดียวกันจะต้องมีทุกทิศทางเลย การสื่อสารแบบปิด เพื่อทำให้ปัญหาต่าง ๆ ต้องยอมรับว่าการทำงานนี้จะต้องเกิดปัญหาจะแก้ไขปัญหาตรงนั้นให้ลุล่วงและก็ ให้คลี่คลายได้อย่างไร          
  4. การมีส่วนร่วม มีส่วนร่วมกับสมาชิกทุกคนจะต้องได้มีการแสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจและ ความผูกพันร่วมกันของทีม           
 5. การกำหนดบทบาทหน้าที่ กำหนดความรับผิดชอบเพื่อความชัดเจนในการทำงานร่วมกัน มีการประชุมปรึกษาหารือกัน แล้วมีการบริหารความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งในทีมมักก่อให้เกิดความริเริ่มและสร้างสรรค์ สามารถมองเห็นปัญหา หลายแง่มุมซึ่งในที่สุดก็สามารถเลือกข้อสรุปที่ดีได้ ความขัดแย้งในทีมมักต้องก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไม่ใช่เป็นทาง ให้ เกิดการทำให้ทีมงานแตกแยกไป หลาย ๆ ส่วนเวลาเกิดมีปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงทำให้ทีมงานสลายไปเลิกเลยโครงการนั้นก็ ล้มเหลวไป    6. ความสามารถในการแก้ปัญหาใช้หลักความร่วมมือร่วมใจ ร่วมกันคิดร่วมกันทำเปิดใจและจริงใจกัน คือในลักษณะของ การแก้ปัญหา          
  7. การประสานงานภายในทีมที่ดี เกิดความพอใจ การยอมรับ มีการส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ เกิดความชัดเจน มีบรรยากาศที่ดี ในการทำงาน การทำงานจะเกิดผลสำเร็จตามมา นั่นคือปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของทีมงาน แต่ละข้อก็ มีความสำคัญ


ตัวอย่างเช่น ถ้าเราได้รับมอบหมายให้ทำงานเป็นทีม/กลุ่ม เราแบ่งหน้าที่กันทำตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายทำตามจุดประสงค์แล้ววางไว้งานก็จะออกมาในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ แต่ถ้าเราไม่ทำตามแผนที่วางไว้ ต่างคนต่างไม่มีส่วนร่วมซึ่งกันและกันก็จะทำให้งานที่ออกมาไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ



กิจกรรมที่3


 1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอนในยุคศตวรรษที่21เปรียบเทียบต่างกันอย่างไร  

                      ยุคก่อนศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อม โดยมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อภาคธุรกิจ  การศึกษา  สังคม  ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการ  และให้เกิดความคล่องตัวต่อการดำเนินงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน    เพื่อเปิดประตูสู่การพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้ได้เน้นนโยบายหลักทางด้านสังคม  เพื่อลดช่องว่างทางสังคม  เปิดเสรีทางการค้า  สนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์  นโยบายระหว่างประเทศ  ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

                     แต่ใน ยุคศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาไทยในโรงเรียนเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น หลักสูตรการเรียนการสอนมีความเป็นสากลมากขึ้น และจะมีการพัฒนาทักษะการคิด  การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสอนภาษาต่างประเทศ  และด้านการบริหารและการจัดการศึกษา  เน้นจะด้านการจัดพิมพ์เอกสาร  ทำฐานข้อมูลประมวลผล  เพื่อจัดทำการสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับการประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในทุกระดับค่ะ


2.ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา                       

       การจัดการเรียนรู้ในอนาคตครูที่ดีจะต้องเป็นครูที่มีความพร้อมในเนื้อหาวิชาสอนที่สอน และมีการจัดการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย การบูรณาการเนื้อหลายวิชา และมีการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เพราะผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ครูผู้สอนจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแค่นักเรียนไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแต่งกาย การพูดการจาจะต้องสุภาพเรียบ หรือไม่ว่าจะเป็นในทุกๆเรื่องที่ครูทุกคนต้องทำเพื่อที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี  ครูผู้สอนต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นที่จะเรียนรู้ มีการประเมินคุณภาพผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม