การจัดห้องเรียน
การจัดห้องเรียนและการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมหลาย ๆ ประเภท เป็นสิ่งเร้าสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อยากเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียน ครูนับเป็นคนที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เด็กแต่ละคนพบความสามารถของตนเองผ่านทางกิจกรรมและปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้น่าเรียนได้ การจัดห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือการจัดที่นั่งให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ย่อมทำให้ผู้เรียนมีความสุขและสะดวกสบาย หากการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจทำให้ครูผู้สอนควบคุมการสอนยาก เพราะตรวจสอบนักเรียนได้ไม่ทั่วถึง หรือแม้กระทั่งการใช้สื่อการเรียนการสอนในชั้น ถ้าหากนักเรียนนั่งอยู่ในจุดที่ไม่สามารถมองเห็นก็ทำให้เป็นอุปสรรคได้
การจัดและตกแต่งห้องเรียน ควรยึดหลัก 2 ประการ คือ
1. การเร้าความสนใจในการเรียน
2. ความมีระเบียบ
ทั้งนี้การจัดและปรับปรุงห้องเรียนในระดับประถมศึกษา ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครูและนักเรียน โดยยึดหลักดังนี้ คือ
1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ
2. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน
3. ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. ยึดถือความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
การจัดห้องเรียนเพื่อให้มีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. เด็กสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไม่นาน
2. ระดับความเจริญเติบโตของเด็กแตกต่างกัน
3. แต่ละวิชามีความมุ่งหมายในการเรียนการสอนแตกต่างกัน (บัญชา บรมพิชัยชาติกุล, 2522)
ฝ่ายวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2532) ให้หลักเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพว่า ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. การจัดสภาพห้องเรียนต้องคำนึงถึงลักษระการเรียนการสอน และวิธีการสอน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ นอกจากนี้การจัดห้องเรียนต้องคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในบางครั้งการจัดห้องเรียนควรจะได้คำนึงถึงความสะดวกและความยืดหยุ่นของการใช้งานด้วย
2. โต๊ะ เก้าอี้ ควรเป็นแบบที่เบาไม่เทอะทะ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือปรับปรุง ลักษณะภายในห้องเรียน และการจัดวางจะต้องอยู่ใน
ลักษณะที่เหมาะสม ไม่สร้างปัญหาในระหว่างการเรียนการสอน เช่น การบังกัน เป็นต้น
3. เสียง จะต้องให้เกิดการได้ยินอย่างทั่วถึงและถ้าใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องคำนึงถึงเสียงสะท้อนด้วย
4. ไฟฟ้าและสว่าง แสงสว่างภายในห้องเรียน จะได้จากแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟจะต้องมีความสว่างพอเหมาะ ควรจะได้มีการติดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่เหมาะกับการใช้งาน ตลอดจนการติดตั้งปลั๊กไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและความปลอดภัย
5. การระบายอากาศในห้องเรียน จำเป็นต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
6. การใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา จะต้องจัดวางในที่เหมาะสมโดยคำนึงการกำหนดลักษณะการใช้งานและประสิทธิภาพของการใช้งาน
1. การเร้าความสนใจในการเรียน
2. ความมีระเบียบ
ทั้งนี้การจัดและปรับปรุงห้องเรียนในระดับประถมศึกษา ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครูและนักเรียน โดยยึดหลักดังนี้ คือ
1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ
2. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน
3. ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. ยึดถือความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
การจัดห้องเรียนเพื่อให้มีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. เด็กสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไม่นาน
2. ระดับความเจริญเติบโตของเด็กแตกต่างกัน
3. แต่ละวิชามีความมุ่งหมายในการเรียนการสอนแตกต่างกัน (บัญชา บรมพิชัยชาติกุล, 2522)
ฝ่ายวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2532) ให้หลักเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพว่า ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. การจัดสภาพห้องเรียนต้องคำนึงถึงลักษระการเรียนการสอน และวิธีการสอน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ นอกจากนี้การจัดห้องเรียนต้องคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในบางครั้งการจัดห้องเรียนควรจะได้คำนึงถึงความสะดวกและความยืดหยุ่นของการใช้งานด้วย
2. โต๊ะ เก้าอี้ ควรเป็นแบบที่เบาไม่เทอะทะ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือปรับปรุง ลักษณะภายในห้องเรียน และการจัดวางจะต้องอยู่ใน
ลักษณะที่เหมาะสม ไม่สร้างปัญหาในระหว่างการเรียนการสอน เช่น การบังกัน เป็นต้น
3. เสียง จะต้องให้เกิดการได้ยินอย่างทั่วถึงและถ้าใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องคำนึงถึงเสียงสะท้อนด้วย
4. ไฟฟ้าและสว่าง แสงสว่างภายในห้องเรียน จะได้จากแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟจะต้องมีความสว่างพอเหมาะ ควรจะได้มีการติดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่เหมาะกับการใช้งาน ตลอดจนการติดตั้งปลั๊กไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและความปลอดภัย
5. การระบายอากาศในห้องเรียน จำเป็นต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
6. การใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา จะต้องจัดวางในที่เหมาะสมโดยคำนึงการกำหนดลักษณะการใช้งานและประสิทธิภาพของการใช้งาน
จึงอาจกล่าวได้ว่า สภาพห้องเรียนที่ดีที่จะสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้นั้น ควรจะต้องมีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านแสงสว่าง การระบายอากาศ ความสะอาด ความปลอดภัย ตลอดจนความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน การจัดสภาพห้องเรียนที่ดีไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งถาวร แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ลักษณะของบทเรียน หรือกิจกรรมที่ครูนำมาใช้ประกอบบทเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น