วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา


        ความหมายที่แท้จริงของแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้
บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับ
ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้ค านิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ต
พีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคำว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ 


       แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC : Tablet Personal Computer ) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่
สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการท างาน ออกแบบให้สามารถท างานได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ภายหลังจากทาง Microsoft ได้ท าการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก

       แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่า “แท็บเล็ต” คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการท างานเป็นลำดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมไปถึงโน๊ตบุ๊คแบบ Convertible  ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดเสมือนจริงติดมาด้วย

        เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงท าให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้ก าหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน

2.สมาคมอาเซียน

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคมในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน





ไทยกับอาเซียน

          ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยโดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

    -   ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร

   -    ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน และโซดาแอช ตัวถังรถยนต์

    -   ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน

   -   ด้านการเกษตร การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการปลูกป่า

    -   ด้านการเมือง สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ

    -   ด้านวัฒนธรรม มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อกัน

        ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
  • มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา
  • การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535
  • ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก หรือ ARF- ASEAN Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537
  • ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540

ประเทศเพื่อนบ้าน

          ใน 9 ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนยกเว้นประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมการเปิดอาเซียนกันมากรัฐบาลมีการสนับสนุนการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและที่ได้เปรียบกว่าคนไทยนั่นก็คือภาษาอังกฤษจากผลสำรวจประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถาทงด้านภาษาอังกฤษน้อยที่สุดการเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน            1. ปรับกรอบแนวคิดของตัวเองให้เปิดกว้าง ศึกษาให้เข้าใจถึงผลกระทบทุกด้าน เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อการวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่คืบคลานเข้ามา            2. ศึกษาและทำความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียนให้ดีว่า มันคืออะไร หน้าตาของประชาคมอาเซียนเป็นอย่างไร            3. ฝึกฝนเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะ ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน และควรเพิ่มการฝึกฝนภาษาที่ 4 ด้วย               4. ศึกษาและทำความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับกฎและระเบียบต่างๆของ                      5. พัฒนาทักษะของเราให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ และเป็นที่ต้องการของตลาด



ที่มา  : http://www.enn.co.th/2308
                                                               http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/07.html

3. บทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

 "การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดง ออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"


คุณลักษณะของครูที่ดี-  ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว-  ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์-  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม-   ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
-  ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
-  ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด -  ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
-  ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
-  ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ -  ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า


              การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนอกจากจะเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วถ้าไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์หรือเพื่อนจนเข้าใจและทำได้  ก็ยังมีการมาค้นคว้าหาจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบบ้างในการทำบล็อกและเมื่ออาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและทำตามทุกครั้งการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนั้นถ้าคนมีความสนใจและใส่ใจก็จะทำออกมาได้ดี

            ต่อไปโอกาสหน้าถ้าจะเรียนโดยการใช้บล็อก  ก็เป็นเรื่องที่ดีและหน้าสนใจเพราะไม่ต้องเรียนจากตำราและใช้กระดาษแต่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนซึ่งสอดคล้องกับการจะก้าวสู่อาเซียนต่อไปข้างหน้า

4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด

       - ดิฉันคิดว่าดิฉันมีความพยามยามในการเรียนในรายวิชานี้มาก เพราะว่ารายวิชานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ และเมื่อถึงเวลาที่ดิฉันเป็นครูสอนนักเรียนก็สามารถนำวิการสอนแบบนี้ไปใช้ในการสอนเช่นเดียวกัน

4.2ขาดเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียนเลย

         -  ในการเข้าเรียนนั้นดิฉันขอยอมรับว่าดิฉันมีขาดเรียนบ้างในบ้างแต่ไม่เกิน2ครั้ง  เพราะว่าดิฉันไม่สบาย จึงมีความจำต้องขาดเรียน 

   4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน         


         -  อาจจะทำไม่ตรงตามเวลาบ้างแต่ก็เสร็จทุกกิจกรรมทัน

 4.4ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น

          -  ดิฉันทำเองค่ะโดยการค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

  4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก

       -  ในสิ่งที่ดิฉันตอบมาทุการนั้นล้วนแต่เป็นความสัตร์จริง ดิฉันทำบล็อดด้วยความตั้งใจเรียนจริงเพราะการทำบล็อกนั้น เป็นการเรียนรู้แบบใหม่จึงทำให้ดิฉันเกิดความสนใจเป็นพิเศษ 


 ดิฉันจึง  อยากได้เกรด   เพราะตั้งใจทำงานส่งอาจารย์ทุกครั้งที่ทำและก็ทำอย่างเต็มที่







 ขอบคุณค่ะ อาจารย์อภิชาติ  วัชรพันธุ์


                  

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดห้องเรียน

        การจัดห้องเรียนและการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมหลาย ๆ ประเภท เป็นสิ่งเร้าสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อยากเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียน ครูนับเป็นคนที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เด็กแต่ละคนพบความสามารถของตนเองผ่านทางกิจกรรมและปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้น่าเรียนได้ การจัดห้องเรียนที่มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือการจัดที่นั่งให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ย่อมทำให้ผู้เรียนมีความสุขและสะดวกสบาย หากการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจทำให้ครูผู้สอนควบคุมการสอนยาก เพราะตรวจสอบนักเรียนได้ไม่ทั่วถึง หรือแม้กระทั่งการใช้สื่อการเรียนการสอนในชั้น ถ้าหากนักเรียนนั่งอยู่ในจุดที่ไม่สามารถมองเห็นก็ทำให้เป็นอุปสรรคได้
การจัดและตกแต่งห้องเรียน ควรยึดหลัก 2 ประการ คือ
    1. การเร้าความสนใจในการเรียน
    2. ความมีระเบียบ
 ทั้งนี้การจัดและปรับปรุงห้องเรียนในระดับประถมศึกษา ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครูและนักเรียน โดยยึดหลักดังนี้ คือ
    1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ
    2. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน
    3. ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    4. ยึดถือความแตกต่างระหว่างบุคคล
    5. ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
การจัดห้องเรียนเพื่อให้มีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
    1. เด็กสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไม่นาน
    2. ระดับความเจริญเติบโตของเด็กแตกต่างกัน
    3. แต่ละวิชามีความมุ่งหมายในการเรียนการสอนแตกต่างกัน (บัญชา บรมพิชัยชาติกุล, 2522)
ฝ่ายวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2532) ให้หลักเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพว่า ควรมีลักษณะ ดังนี้ 
    1. การจัดสภาพห้องเรียนต้องคำนึงถึงลักษระการเรียนการสอน และวิธีการสอน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ นอกจากนี้การจัดห้องเรียนต้องคำนึงถึงบรรยากาศที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในบางครั้งการจัดห้องเรียนควรจะได้คำนึงถึงความสะดวกและความยืดหยุ่นของการใช้งานด้วย
    2. โต๊ะ เก้าอี้ ควรเป็นแบบที่เบาไม่เทอะทะ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือปรับปรุง ลักษณะภายในห้องเรียน และการจัดวางจะต้องอยู่ใน
ลักษณะที่เหมาะสม ไม่สร้างปัญหาในระหว่างการเรียนการสอน เช่น การบังกัน เป็นต้น
    3. เสียง จะต้องให้เกิดการได้ยินอย่างทั่วถึงและถ้าใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องคำนึงถึงเสียงสะท้อนด้วย
    4. ไฟฟ้าและสว่าง แสงสว่างภายในห้องเรียน จะได้จากแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟจะต้องมีความสว่างพอเหมาะ ควรจะได้มีการติดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่เหมาะกับการใช้งาน ตลอดจนการติดตั้งปลั๊กไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและความปลอดภัย
    5. การระบายอากาศในห้องเรียน จำเป็นต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
    6. การใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษา จะต้องจัดวางในที่เหมาะสมโดยคำนึงการกำหนดลักษณะการใช้งานและประสิทธิภาพของการใช้งาน 

           จึงอาจกล่าวได้ว่า สภาพห้องเรียนที่ดีที่จะสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้นั้น ควรจะต้องมีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านแสงสว่าง การระบายอากาศ ความสะอาด ความปลอดภัย ตลอดจนความเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน การจัดสภาพห้องเรียนที่ดีไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งถาวร แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ลักษณะของบทเรียน หรือกิจกรรมที่ครูนำมาใช้ประกอบบทเรียน







กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพในอุดมคติ


ครูในอุคมคติของข้าพเจ้า

1.มีคุณธรรมและจริยธรรม
2.ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
3.ตรงต่อเวลา
4.วางใจเป็นกลาง
5.รักเด็ก
6.มีบุคลิกภาพดี
7.แต่งกายสุภาพ
8.พูดจาอ่อนหวาน
9.มีระเบียบวินัย
10.เสียสละ

การพัฒนาตนเองสู่วิชาชีพครู

1.พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.ประพฤติตามแนวทางของครูที่ดี






กิจกรรมที่ 7



โทรทัศน์ครู



อาจารญ์ผู้สอน : คุณแววนภา กาญจนาวดี

โรงเรียน :   พญาไท

เรื่องที่สอน :เศรษฐศาสตร์สู่เศรษฐกิจพอเพียง

ระดับชั้นที่สอน :ประถมศึกษาชั้นปีที่ 6

เนื้อหาที่ท่านใช้สอน  
             เน้นการสอนจากเรื่องราวรอบตัวนักเรียน เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์ นำเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันของคนในสังคมเมืองมาประกอบการเรียน เพื่อจะเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดไม่ถูกชักจูงให้เชื่อในการโฆษณาง่ายๆ เช่น ครู จะนำผลไม้มาให้เด็กๆเลือกซื้ออย่างอิสระ แล้วให้วิเคราะห์ว่าทำไมถึงเลือกซื้อผลไม้ชนิดนั้นมีหลักในการเลือกอย่างไร และสรุปด้วยการสอนให้เลือกโดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้


จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)

การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา เด็กนักเรียนเลือกแหล่งเรียนรู้ผ่านการอธิบายเหตุผลและการลงคะแนน ต่อจากนั้นครูแนะสถานที่ไป ความสำคัญ จุดสำคัญทีควรศึกษา เช่น ภาพเขียน 3000 ปี จากนั้น ครูให้เด็กศึกษา หาข้อมูลเพิ่ม ก่อนไปทัศนศึกษา เมื่อศึกษาจบให้นำเสนอผลงานที่ไปดูงานมา และนำข้อมูลที่ได้ สรุปนำเสนอ และเผยแพร่ความรู้ให้น้องๆ ผ่านการจัดนิทรรศการ
การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์ การสอนแบบโครงงานให้นักเรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด จึงได้พานักเรียนไปทัศนศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น และภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น  

บรรยากาศในชั้นเรียน

บรรยากาศการจัดห้องเรียน   เป็นห้องเรียนที่มีแสงสว่างเพียงพอ  การจัดโต๊ะของนักเรียนมีช่องว่างให้ครูเดินได้สะดวก   และหากมีการทำงานกลุ่มก็สามารถเข้ากลุ่มได้อย่างรวดเร็ว  สำหรับบรรยากาศการเรียนก็เป็นกันเอง  ทำให้เด็กกล้าพูด  กล้าตอบคำถาม กล้าแสดงความคิดเห็น  การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้รวดเร็ว










     

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
         
          ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ท่านทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ครูของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรักต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด ซึ่งท่านได้ทรงเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาของปวงประชากรไทย ไม่ว่าประชากรไทยจะอยู่ถิ่นไหน ท่านก็จะเสด็จไปถึงถิ่นนั้น เพื่อที่จะแนะนำ ส่งเสริมในทุกๆเรื่องที่ปวงประชากรไทยนั้นพบกับปัญหา โดยท่านจะมุ่งแน้นทางด้านการศึกษาเป็นแกนนำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่มีวิชาความรู้มากมาย และมีความเป็นผู้นำสูงจึงทำให้พระองค์เป็นที่รักของปวงชน จนพระองค์ได้ขนานนามว่า "ครูของแผ่นดิน"  เพราะพระองค์ทรงสอนเรื่องแผ่นดิน ที่สอนให้รู้จักและเข้าใจ ดิน น้ำ ลม ไฟ  สอนให้รู้จักชีวิต สอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการกระทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากแก่ปวงชนชาวไทย
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชกระแสรับสั่งของพระองค์เกี่ยกับครู ความว่า "ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ" ดังนั้นครูถือเป็นอาชีพที่เป็นที่เคารพนับถือ มีความสำคัญในการทำงานในการสร้างแม่พิมพ์ที่ดีให้เกิดขึ้นมาสร้างประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ผู้คนมีความสุขกับการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เพราะทุกคนมีครูที่ดี ที่ให้ความรู้ ความสุขและความอบอุ่น จนทำให้สังคมและปวงชนอยู่อย่างมีความสุข



      ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร


     จะใช้วิธีการสอนโดยนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้โดยสอนให้นักเรียนได้รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอมีพอกิน รู้จักประหยัดอดออม นอกจากนั้นจะสอนให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์วิถีชีวิตของแต่ละชุมชนของนักเรียนเอง  ให้นักเรียนได้รู้จักการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดความรู้และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างเต็มความสามารถ ให้คะแนนแก่นักเรียนด้วยความยุติธรรมและเป็นครูที่มีแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนทุกคน



    ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร         

           ในฐานะที่ดิฉันจะไปเป็นครูในอนาคต ดิฉันจะสอนนักศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อที่นักเรียนจะได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้  และจะออกแบบการสอนโดยให้นักเรียนได้ออกไปสัมผัสกับสถานการณ์จริง ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ฝึกลงมือทำด้วยตนเองจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถก้าวทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆได้
 

  


วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY    1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

       สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจเขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาได้จนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

 2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไ

      ถ้าดิฉันได้ออกไปเป็นครู ดิฉันจะนำแนวคิดนี้ไปสอนนักเรียนโดยการสอนให้นักเรียนรู้จักทำงานเป็นทีม รู้จักช่วยเหลือกันภายในกลุ่มและสอนให้นักเรียนรู้จักมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง และจะสอนให้นักเรียนระลึกอยู่เสมอว่าคนเราไม่สามาราถอยู่ได้คนเดียวตามลำพัง เราต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมและเราก็จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันเราจึงจะอยู่รอดได้




     3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร

            ในอนาคตดิฉันจะเป็นครูผู้สอน และจะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจโดยการจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และที่สำคัญครูผู้สอนควรสรุปกิจกรรมที่ทำเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน







วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555