วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
          พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
            1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
            2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
            3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
            4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ  
          5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์



Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ทฤษฎี X เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ทฤษฎี Y เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน             
William Ouchi : ทฤษฎี Z
  เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลก                           

ทฤษฎี A คือ Amarican Theory                                                                                              
   ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
 3. Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม
        วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย 
1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน 
2.) ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป 
3.) และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)  เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้   1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา 10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร  13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ         
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมแล้ว เวเบอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ 6 ประการ ได้แก่  1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่าย และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็น
บทที่ 1

มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

           ความสำคัญของการบริหาร
การบริหารทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคมที่มีความแตกต่างกัน การบริหารเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำสังคมและโลกไปสู่ความเจริญ และการบริหารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลหลายๆ คนร่วมกันทำงาน การบริหารจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมือ
ความหมายของการบริหาร
 การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การบริหารจะเกดขึ้นได้
เมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันทำงาน

บทที่  2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
1.วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ   การบริหารงานของรัฐ
2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ   การจัดการ
3. การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร 
-ยุคที่1  นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
-  การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา                                                               
 - ยุคที่2  ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์                                                                        
 - การประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา                                                         
 - ยุคที่3  ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ                                                                                         
-การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา                                                                   
 -  ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ                                                                                                                            
 -  การประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
เครือข่ายทางการศึกษาดังนี้                                                                                                      
 1.การผลิต  หมายถึง  กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น  ในทางการศึกษา                        
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน  หมายถึง  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี  หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ  
4.บุคลากร  คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย                                                               
 5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา

บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2  เรื่อง  คือ  1.การจัดระบบสังคม,2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
            สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน  คือ  จะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน  และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา  ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน

บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น  3  ลักษณะใหญ่ๆคือ
1.องค์การทางสังคม  
2.องค์การทางราชการ     
3.องค์การเอกชน
แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  “ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
ความสำคัญของการจัดองค์การ   เพื่อให้พนักงานขององค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
หลักการในการจัดองค์การ
1.  หลักวัตถุประสงค์                                    2.  หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง
3.  หลักการประสานงาน                              4.   หลักการบังคบบัญชา
5.  หลักความรับผิดชอบ                              6.  หลักความสมดุล
7.  หลักความต่อเนื่อง                                   8.  หลักการโต้ตอบและการติดตาม
9.  หลักขอบเขตของการควบคุม                 10.  หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
11.  หลักตามลำดับขั้น                                 12.  หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
องค์ประกอบในการจัดองค์การ
1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ  
2.  การแบ่งงานกันทำ
3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
ประเภทขององค์การรูปนัย  
แบ่งออก  4  ประเภท
1.  สมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก              2.  องค์การทางธุรกิจ
3.  องค์การเพื่อบริการ                                     4.  องค์การเพื่อสาธารณชน
ทฤษฎีองค์การ  คือ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์           
ระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร ( Communication )
                การสื่อสาร คือกระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานระหว่างบุคคล โดยอาศัยการถ่ายทอด และการรับข้อมูล เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
                กระบวนการในการติดต่อสื่อสารมีปัจจัย 3 ตัว คือ สื่อที่ใช้ในการติดต่อ ช่องทางที่สื่อจะผ่าน และกระบวนการ
                วิธีการติดต่อสื่อสารในการบริหารโรงเรียน
1.      ทางวาจา คือการประชุมปรึกษาเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล เพื่อครูได้ทราบข้อควรปฏิบัติ ปัญหาต่างๆที่เกิด ขึ้น  ภายในโรงเรียน
2.      ทางการเขียน ใช้วิธีการเขียนจดหมายโต้ตอบ หรือการใช้บันทึกการรายงาน จดหมายประจำวัน
3.       ทั้งทางวาจาและทางการเขียน
4.       การใช้กิจกรรม เช่น การจัดปฐมนิเทศ การพบปะสังสรรค์
5.       การใช้อุปกรณ์ ใช้ภาพ แผนภูมิ เครื่องขยายเสียง
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
                ผู้นำ คือบุคคลที่สามารถใช้ศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
                องค์ประกอบที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำคือ
1.      ผู้นำ เป็นบุคคลที่ต้องมีบุคลิก ลักษณะนิสัยที่แสดงออกถึงภาวะผู้นะ
2.      ผู้ตาม คือผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามผู้นำ
3.      สถานการณ์ สภาพแวดล้อม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผู้นำต้องทันข่าว ทันเหตุการณ์
หน้าที่ของผู้นำ
1.      ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อองค์การ
2.      ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
3.      ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อหน่วยงานอื่นในองค์การเดียวกัน
4.       ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง
บทที่ 8

การประสานงาน

แนวทางการทำงานให้เกิด "การผสมงานผสานใจ"
1. มีการประสานความคิดโดยที่ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจนโยบายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน
2. มีการประสานแผนงาน ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจในกรอบนโยบายของแต่ละหน่วยงาน
3. มีการประสานด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์
4. มีการประสานคน ผู้ที่จะทำงานร่วมกันต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และการบริหารคนในแต่ละระดับ ต้องรู้จักใช้เทคนิคการจูงใจให้เกิดการยอมรับในการทำงานร่วมกัน
5. ระบบการติดต่อสื่อสารต้องมีประสิทธิภาพ อาจใช้วิธีใช้หนังสือราชการ โทรศัพท์ ประชุมปรึกษาหารือ หรือการนัดหมายต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจนและได้ผลดีตามวัตถุประสงค์
6. มีการจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับองค์การของหน่วยงานอื่น ทั้งในด้านนโยบายและระบบการปฏิบัติงาน


บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ คือ ขบวนการในการเลือก ทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่ 1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ       2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน และ 3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่เป็นโครงสร้าง
              การตัดสินใจแบบสั่งการ (Directive Style) จะ มีข้อมูลน้อย ไม่มีทางทางเลือก การตัดสินใจจึงต้องใช้ทางลัด รวดเร็ว แบบง่ายๆ แก้ปัญหาชัดเจน ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ใช้ข้อมูลน้อย ไม่พิจารณาทางเลือกมาก
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน

ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้

1.การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ และยังมีงานอื่นๆ อีกมากมาย
2.การบริหารบุคคล คือ  การจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลดีที่สุดและให้เกิดประโยชน์สุงสุดแก่สถานศึกษา  และในขณะเดียวกันคนที่ที่เราใช้งานต้องมีความสุข
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น